รู้หรือไม่ ถังดักไขมัน ช่วยป้องกันท่อน้ำทิ้งอุดตันได้**

Grease Traps ถังดักไขมัน รุ่น Wave Kit 15 ลิตร

รู้หรือไม่ ถังดักไขมัน ช่วยป้องกันท่อน้ำทิ้งอุดตันได้

แก้ปัญหาท่อน้ำทิ้งอุดตัน ด้วยถังดักไขมันคุณภาพดี

ปัญหาท่อน้ำทิ้งอุดตัน เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่อาจไม่ทันนึกถึง เพราะมักคิดว่าน้ำทิ้งจากการชำระล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ เช่น การล้างจาน คงมีปริมาณไขมันไม่มากเท่าไหร่นัก และคงไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ ตามมา แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้ำทิ้งจากการล้างจาน เป็นสิ่งที่มีปริมาณไขมันมากพอสมควร และเมื่อไขมันเหล่านั้นหมักหมมสะสมกันในท่อน้ำทิ้ง และท่อระบายน้ำมาก ๆ เข้า ก็จะทำให้ท่อน้ำทิ้งหรือท่อระบายน้ำอุดตัน ซึ่งส่งผลให้การระบายน้ำจากอ่างล้างจานมีปัญหา แถมยังทำให้ท่อระบายน้ำของอ่างล้างจานส่งกลิ่นเหม็น และอาจทำให้มีแมลงสาบขึ้นมาจากท่อน้ำได้อีกด้วย

แต่ปัญหาท่อน้ำทิ้งอุดตันจะหมดไป เมื่อติดตั้งถังดักไขมันเข้ากับอ่างล้างจาน โดยถังดักไขมันจะทำหน้าที่กรองเอาเศษอาหารออกจากน้ำทิ้ง และถังดักไขมันยังแยกน้ำกับไขมันออกจากกันอีกด้วย จากนั้นจึงปล่อยน้ำที่สะอาดในระดับหนึ่ง ลงสู่ท่อน้ำทิ้งสาธารณะ

ส่วนการเลือกใช้ถังดักไขมันนั้น มีสองประเภทให้เลือก คือ ถังดักไขมันแบบติดตั้งใต้อ่างล้างจาน และถังไขมันแบบฝังดิน ซึ่งการจะเลือกใช้ถังดักไขมันแบบไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของอ่างล้างจานของคุณ

หากคุณต้องติดตั้งถังดักไขมันสำหรับใช้ในครัวเรือน หรือใช้ถังดักไขมันสำหรับร้านอาหารหรือคาเฟ่ขนาดเล็ก ก็ควรเลือกใช้ถังดักไขมันแบบติดตั้งใต้อ่างล้างจาน ซึ่งมีขนาดให้เลือกตั้งแต่ 15 ลิตร 30 ลิตร 60 ลิตร และ 140 ลิตร โดยควรเลือกปริมาตรของถังดักไขมันให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน เช่น จำนวนคนต่อมื้ออาหาร เพื่อจะได้ทราบปริมาณของเสียที่จะไหลลงไปบรรจุอยู่ในถังดักไขมัน

ถังดักไขมันแบบติดตั้งใต้อ่างล้างจานนั้น ติดตั้งง่ายและสามารถถอดออกมาล้างทำความสะอาดได้ด้วยตนเอง เพียงต่อส่วนปลายของท่อน้ำทิ้งอ่างล้างจานเข้ากับถังดักไขมัน จากนั้นต่อท่อน้ำออกของถังดักไขมันเข้ากับท่อระบายน้ำของบ้านหรือร้านอาหาร ก็สามารถใช้งานถังดักไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว

ซึ่งถังดักไขมันที่เหมาะสำหรับใช้ในครัวเรือนที่มีผู้อยู่อาศัย 4 – 6 คน หรือร้านอาหาร และคาเฟ่ขนาดเล็ก ก็มีถังดักไขมัน WAVE รุ่น WK (WAVEKIT) ที่ผลิตจาก PTT HEXENE CO – POLYMER C6 ที่มีความเหนียวและทนทาน ไม่แตกร้าวง่าย และรับน้ำหนักได้เยอะ สามารถทดสอบความแข็งแรงของถังดักไขมันรุ่นนี้ได้ด้วยการขึ้นไปยืนเหยียบบนถัง จะพบว่าตัวถังสามารถรับน้ำหนักได้ดี ไม่มีปัญหาการแตกร้าว

ถังดักไขมัน WAVE รุ่น WK (WAVEKIT) นี้สามารถดักไขมันได้ถึง 15 ลิตร (ปริมาตรของถัง คือ 16.5 ลิตร) และยังสามารถติดตั้งได้ทั้งแบบวางใต้ซิงค์และฝังดิน อีกทั้งยังสะดวกในการใช้งาน และถอดล้างทำความสะอาดง่ายไม่ยุ่งยาก มีการรับประกันการใช้งานนานถึง 3 ปี

ถังดักไขมัน WAVE รุ่น WK (WAVEKIT)
https://wave.co.th/product/wavekit/

ส่วนร้านอาหารขนาดใหญ่นั้น ควรเลือกใช้ถังดักไขมันแบบฝังดิน เพราะเป็นถังดักไขมันที่มีปริมาตรถึง 400-6000 ลิตร สามารถรองรับของเสียจากการล้างจานในปริมาณที่มากได้

โดยการใช้งานถังดักไขมันแบบฝังดินนั้น จะต้องฝังถังดักไขมันลงในดิน แล้วต่อท่อน้ำทิ้งจากอ่างล้างจานมายังถังดักไขมัน และต่อท่อจากถังดักไขมันลงสู่ท่อระบายน้ำ โดยต้องวางท่อให้มีความลาดเอียงลงไม่ต่ำกว่า 1:50 สำหรับการต่อท่อจากอ่างล้างจานมายังถังดักไขมัน และต้องต่อท่อจากถังดักไขมันไปยังท่อระบายน้ำให้มีความลาดเอียงลง ในอัตราส่วน 1:100

นอกจากนี้การเลือกถังดักไขมันที่ดี ยังต้องคำนึงถึงวัสดุที่ใช้ และชิ้นส่วนสำคัญของถังดักไขมัน ว่ามีครบถ้วนตามกระบวนการดักไขมันหรือไม่

สำหรับวัสดุที่ใช้ทำถังดักไขมัน ต้องเป็นวัสดุที่ทนทาน ไม่แตกหักและไม่รั่วซึมง่าย โดยวัสดุที่มีคุณภาพดีเหมาะแก่การใช้ทำถังดักไขมัน คือ วัสดุ PTT. Hexene Co-Polymer C6 ที่มีความเหนียวและแข็งแรงทนทาน และยังรับน้ำหนักได้ดี นอกจากนี้ถังดักไขมันที่มีคุณภาพ ควรผลิตด้วยกรรมวิธีไร้รอยต่อ (Rotational Moulding) เพราะจะช่วยให้ถังดักไขมันมีความแข็งแรง และสามารถทนต่อแรงกดทับได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ชิ้นส่วนของถักดักไขมันก็ควรมีตะกร้าดักเศษอาหาร ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญของถังดักไขมันที่ไม่สามารถขาดหายไปได้ อีกทั้งยังต้องมีฝาถังดักไขมันที่แข็งแรงทนทาน มีข้อต่อย่นน้ำเข้า-น้ำออก และท่อระบายไขมันออกจากถังดักไขมัน

อย่างไรก็ตามการปล่อยน้ำเสียออกจาบ้านเรือนหรือธุรกิจต่าง ๆ นอกจากจะจำเป็นจะต้องมีถังดักไขมันแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการบำบัดน้ำเสียอีกด้วย เพราะหากน้ำที่ปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ ไม่ได้มีการบำบัดน้ำเสียอย่างถูกต้องเสียก่อน ก็จะส่งผลกระทบต่อความสะอาดและคุณภาพของน้ำทิ้งในท่อระบายน้ำส่วนรวมได้

ดังนั้นนอกจากจะต้องใช้ถังดักไขมันเพื่อดักของเสียและไขมันใต้อ่างล้างจานแล้ว ยังต้องมีการใช้ถังบำบัดน้ำเสีย, ถังแซท หรือถังไฟเบอร์กลาส มาทำหน้าที่บำบัดน้ำ ก่อนจะปล่อยน้ำเสียทิ้งลงท่อระบายน้ำสาธารณะอีกด้วย

การเลือกถังบำบัดน้ำเสียหรือถังแซทนั้น มีให้เลือกสองแบบด้วยกัน ได้แก่

1. ถังบำบัดน้ำเสีย หรือถังแซท หรือถังไฟเบอร์กลาสแบบเติมอากาศ
ถังบำบัดแบบเติมอากาศนั้น จะบำบัดของเสียด้วยจุลินทรีย์ที่ใช้อากาศในการย่อยสลายของเสีย จึงต้องมีการเติมอากาศเข้าไปในถังบำบัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายของเสียในถังบำบัดได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยค่ามาตรฐาน BOD ของน้ำเสียที่ออกมาจากถังบำบัดแบบเติมอากาศนั้น จะไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร

น้ำที่ผ่านการบำบัดจากถังบำบัดน้ำเสีย ถังแซท หรือถังไฟเบอร์กลาสแบบเติมอากาศจึงมีความสะอาดและปลอดภัยเพียงพอที่จะปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะได้

2. ถังบำบัดน้ำเสีย ถังแซท ถังไฟเบอร์กลาสแบบไร้อากาศ
เป็นถังบำบัดที่ใช้จุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องใช้อากาศในการช่วยย่อยสลายของเสีย จึงไม่จำเป็นต้องเติมอากาศลงไปในถังบำบัด มีข้อดี คือ ประหยัดงบประมาณมากกว่า แต่น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากถังบำบัดแบบไร้อากาศจะยังมีความสกปรกหลงเหลืออยู่มาก และมีค่า BOD โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 50-60 มิลลิกรัม/ลิตร สูงกว่าน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดจากถังบำบัดแบบเติมอากาศ ทำให้อาจจะต้องมีการพักน้ำเสียเหล่านั้นในบ่อพักแบบเติมอากาศอีกที

การเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสียหรือถังแซทนั้น มีให้เลือกทั้งถังบำบัดน้ำเสียแบบแนวตั้ง หรือถังบำบัดที่วางในแนวนอน แบบถังไฟเบอร์กลาส ที่มีทั้งทรงแคปซูล และทรงไข่ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมอีกด้วย

ส่วนการเลือกขนาดของถังบำบัดน้ำเสีย จะต้องคำนวณจากการคูณจำนวนผู้พักอาศัยหรือผู้ใช้งานในแต่ละวัน เข้ากับปริมาณการใช้น้ำ/คน/วัน และคูณ 2 (เวลาที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย) ก็จะได้ปริมาตรของถังบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมกับการใช้งาน โดยปริมาณการใช้น้ำโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 200 ลิตร/คน/วัน และ 50 ลิตร/คน/วัน สำหรับสถานศึกษา และสำนักงานต่าง ๆ ที่คนมักจะใช้น้ำไม่บ่อยเท่าสถานที่ที่มีการอยู่อาศัยเช่น บ้านเรือน หรือโรงแรม

โดยสูตรคำนวณมีดังนี้

จำนวนคน x 200 (ปริมาณน้ำที่ใช้ในแต่วัน) x 2 (จำนวนวันที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย = ปริมาตรของถังบำบัดน้ำเสีย ถังแซท หรือถังไฟเบอร์กลาสที่ต้องใช้

การเลือกถังแซทหรือถังบําบัดน้ำเสียนั้น สามารถเลือกใช้ได้ทั้งแบบถังบำบัดน้ำเสียที่ผลิตจาก PTT. Hexene Co-Polymer C6 โพลิเมอร์คุณภาพสูงที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมมากกว่าโพลิเมอร์ทั่วไปถึง 20 เท่า จึงมีความเหนียวและความยืดหยุ่นสูง ถังบำบัดที่ผลิตจากวัสดุชนิดนี้ จะไม่กรอบหรือแตกหักง่ายเมื่อต้องใช้งานเป็นเวลานาน ๆ

หรือจะเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสีย ที่ผลิตจาก Polyethylene ที่มีความแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นสูง รับน้ำหนักแรงกดทับของดินได้ดี ไม่แตกหักเสียหายง่าย โดยถังบำบัดที่ผลิตจากวัสดุชนิดนี้จะเหมาะกับการใช้งานในครัวเรือน

และนอกจากนี้ยังมีถังบำบัดแบบถังไฟเบอร์กลาส หรือเส้นใยแก้ว ซึ่งเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทานกว่าวัสดุอื่น ๆ เพราะทนต่อสภาพความเป็นกรดของสารเคมี การกัดกร่อนของน้ำ รองรับน้ำหนักได้ดี และไม่ก่อให้เกิดความชื้น ทั้งยังทนต่อความร้อนได้ดี ทำให้ไม่ผุพังเร็ว และยังมีน้ำหนักเบาอีกด้วย ถังบำบัดแบบถังไฟเบอร์กลาสเหมาะกับการใช้งานตามโรงงาน หรือสถานที่ขนาดใหญ่ เช่น หน่วยงานราชการ

สุดท้ายนี้ การเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสียหรือถังแซท และถังไฟเบอร์กลาส จะต้องคำนึงถึงปริมาณการใช้งานและวัสดุของถังบำบัดเป็นหลัก เพื่อให้ได้ถังบำบัดน้ำเสียหรือถังแซทที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะกับรูปแบบการใช้น้ำในสถานที่ของคุณ

สอบถามรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อถังบำบัดน้ำเสีย ถังแซท หรือถังไฟเบอร์กลาส จากแบรนด์ WAVE ได้ที่ :

Tel : 02-814-8565, 02-814-9449, 081-7003411
LINE : @wave.co.th
E-Mail : contact@wave.co.th
Website : https://www.wave.co.th
Facebook : www.facebook.com/wavecommunity

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ดีในการใช้งานเว็บไซต์ อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)