มีถังบำบัดสำเร็จรูปอยู่แล้ว จำเป็นต้องสูบส้วมไหม ?

หลาย ๆ บ้านอาจจะคุ้นชินกับระบบบำบัดแบบบ่อเกรอะ และบ่อซึม ที่อาจจะต้องทำการสูบส้วมทุก ๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี ระยะเวลาการสูบขึ้นอยู่กับการย่อยสลายของสิ่งปฎิกูล หรือ น้ำในบ่อซึมไม่สามารถซึมผ่านเนื้อดินได้ เนื่องจากดินโดยรอบเป็นดินเหนียวนั้นเอง แต่ในปัจจุบันมีการเริ่มใช้ระบบถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปมากขึ้น จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า “ ถ้ามีถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูปแล้ว จำเป็นต้องสูบส้วมอีกไหม ? ” เวฟวี่มีคำตอบให้ครับ

ก่อนอื่นเราต้องหาสาเหตุของส้วมเต็มก่อนนะครับ เพราะการสูบส้วมอาจจะไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ตรงจุด

1.การเลือกขนาดถังที่เล็กเกินไป

ปัญหา : การเลือกขนาดถังที่เล็กเกินไป อาจจะทำให้ขนาดถังไม่เพียงพอต่อการใช้งานของสมาชิกภายในบ้าน 

วิธีแก้ไข : เพิ่มขนาดถังบำบัดให้เหมาะสมต่อการใช้งาน หากคุณไม่ทราบการคำนวนขนาดถังบำบัดสามารถดูตารางการใช้ถังบำบัดน้ำเสียได้ที่หน้าสินค้านี้เลยครับ >> ดูตาราง

 2.ราดไม่ลง มีกลิ่นย้อนขึ้นมา

สาเหตุ : การติดตั้งท่ออากาศที่ผิดวิธี ,ท่ออากาศหรือท่อระบายน้ำเสียมีสิ่งอุดตัน ,แหล่งน้ำสาธารณะมีความสูงมากกว่าท่อระบายน้ำทิ้งที่ออกจากบ้าน, ระดับสโลปที่ไม่เหมาะสม

วิธีแก้ไข : แก้ไขการติดตั้งท่ออากาศ , ตรวจเช็คน้ำสิ่งอุดตันออก 

ระดับสโลป พื้นที่ติดตั้งควรห่างออกจากตัวบ้านหรืออาคาร ไม่น้อยกว่า 1 เมตร ตรวจแนวท่อจากตัวบ้าน ระยะ Slope 1 ม. : 1 ซม. (ถ้าระยะห่างจากตัวบ้าน 1 เมตร ให้ท่อ Slope ลงมา 1 เซนติเมตร) และควรอยู่ในตำแหน่งใกล้ท่อน้ำทิ้ง ปลายท่อน้ำออกควรสูงกว่าท่อระบายน้ำทิ้งอย่างน้อย 15 – 50 เซนติเมตร ดูวิธีการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย >> คลิก

3.จุลินทรีย์ไม่ทำงาน

สาเหตุ : โดนน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้จุลินทรีย์ตายทำให้ไม่มีจุลินทรีย์ทำหน้าที่ในการบำบัดสิ่งปฎิกูล

วิธีแก้ไข : ไม่ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นกรด และทำการเติมจุลินทรีย์ WAVE BIO SEED เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดให้ดีขึ้น และสามารถลดกลิ่นได้ดี

4.ระมัดระวังการใช้งาน

ข้อปฎิบัติ : ไม่ทิ้งสิ่งของลงชักโครก เช่น ไม่ทิ้งผ้าอนามัย ไม่ทิ้งถุงพลาสติก ไม่ทิ้งเส้นผม และสิ่งไม่ย่อยสลาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ท่ออุดต้น

จากทั้งหมดที่กล่าวมาสรุปได้ว่า…เพียงแค่คุณหาสาเหตุให้พบ และแก้ปัญหาให้ตรงจุด ” ก็ไม่จำเป็นต้องสูบส้วม “ ให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแล้วครับ 

หากคุณจำเป็นที่ต้องการจะสูบส้วม การดูดกากตะกอน เมื่อใช้งานไปแล้ว “ต้องรักษาระดับน้ำในถังให้ได้อย่างน้อย 2/3 ส่วนเพื่อรักษาความสมดุลแรงดัน” ซึ่งทำได้โดยเติมน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำให้ได้ตามคำแนะนำ ซึ่งเราจะพบเจอปัญหาถังยุบโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาหน้าฝน ระดับน้ำในดินจะสูงมากซึ่งจะทำให้มีแรงดันสูงมากภายรอบนอกมหาศาล หากไม่มีน้ำในถังเลยย่อมทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวถังไม่มากก็น้อยนั้นเองครับ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >> 3 ข้อควรระวังในการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ดีในการใช้งานเว็บไซต์ อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)