การติดตั้งถังบําบัดน้ำเสียและถังเก็บน้ำใต้ดิน ครบจบในหนึ่งเดียว ฉบับ…ปรับปรุงเข้าใจง่าย

install treatment tank การติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย

  เรามักเจอคำถามเกี่ยวกับ ถังบำบัดน้ำเสีย อยู่บ่อยๆว่าควรติดตั้งเเละบํารุงรักษาอย่างไร ไม่ให้เกิดปัญหาตามมา หลายคนอาจจะเจออาการถังยุบตัวหรือถังแตก ตามมาหลังจากใช้งานไปแล้วหรือแม้กระทั่งยังไม่เคยใช้งานเลยด้วยซ้ำ !! ซึ่งโดยปกติถังบําบัดถูกออกแบบมาให้รับแรงดันได้มากและมีความทนทานสูง แต่ทำไมเรายังเจอปัญหาอาจเพราะเกิดจากการติดตั้งที่ไม่ถูกวิธีหรือการใช้งานที่ผิดๆ ซึ่งกว่าเราจะรู้ก็สายไปเสียเเล้ว ถังก็ถูกฝังดินไปทั้งๆที่ติดตั้งผิดเสียทั้งเงินและเวลาหากต้องการแก้ไข ดังนั้นหากเราไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เราเองก็ควรจะรู้วิธีการติดตั้งและบํารุงรักษาเพื่อให้ถังบำบัดอยู่คู่บ้านได้อย่างยาวนานด้วยเช่นกัน

พี่เวฟวี่..ได้รวมข้อมูลการติดตั้งถังบําบัด ฉบับปรับปรุงใหม่ ให้เเล้ว 3.2.1 มาดูกันเลย

บทที่ 1 ระบบนํ้าเสียภายในบ้านคุณเป็นอย่างไร? เเละ การเลือกใช้ขนาดถังบําบัดให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า ระบบบําบัดของเราที่วางระบบท่อน้ำทิ้งไว้เป็นอย่างไร?? ต้องการวางผังการจัดการน้ำให้รับ “นํ้าเสียรวมทั้งหมด” หรือ “นํ้าเสีย(เฉพาะส้วม)”

  • นํ้าเสียรวมทั้งหมด จากประกอบไปด้วย น้ำเสียทั้งหมด,น้ำจากส้วม,น้ำทิ้งทั่วๆไปเช่น น้ำอาบ หรือน้ำล้างมือ (ยกเว้นน้ำจากห้องครัวเพราะต้องผ่านถังดักไขมัน WAVE KITออกก่อน)

ระบบน้ำเสียในบ้าน-ประเภทน้ำรวม

  • นํ้าเสีย(เฉพาะส้วม) ความหมายก็ตรงตัวเลยครับ น้ำเสียจากส้วมสุขภัณฑ์อย่างเดียว (นํ้าเสียจากห้องนํ้า,ห้องครัวก็ต้องผ่านถังดักไขมันก่อนระบายลงท่อสาธารณะนะครับ)

 

  ตอนนี้เราก็รู้เรื่องเกี่ยวกับระบบนํ้าเสีย ขั้นตอนต่อไป เเล้วเราจะรู้ได้อย่างไร? ว่าควรใช้ถังบําบัดขนาดเท่าไรที่จะเหมาะสมกับการใช้งานของเรา

  • ตารางการเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสียชนิดรวมไร้อากาศ ผู้ใช้ควรเลือกขนาดถังที่เหมาะสมกับการใช้งาน” เพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการบำบัด

ยกตัวอย่าง ครอบครัวของพี่เวฟวี รวมทั้งหมด 5 คน เป็นบ้านพัก ใช้ระบบเเบบนํ้าเสียรวม ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 1600 เป็นจำนวนลิตรของถังบําบัด เท่านี้พี่เวฟวี่ ก็ได้ถังบําบัดที่่เหมาะสม กับการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ 100% การเลือกขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งานนอกจากจะช่วยลดปัญหาที่ต้องดูดกากตะกอนบ่อยแล้ว ยังทำให้กระบวนการบำบัดใช้ระยะเวลาในการกักและปล่อยน้ำเสียอยู่ในระยะการบำบัดที่เหมาะสมจึงทำให้คุณภาพน้ำหลังการบำบัดดีตามเกณฑ์ กรณีเป็น ถังบําบัดน้ำเสียโรงงาน ถังบำบัดน้ำเสียขนาดเล็ก ไปจนถึงถังบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ สามารถติดต่อพี่เวฟวี่เพื่อปรึกษาการเลือกใช้ขนาดถังบำบัดและวัสดุของถังได้อย่างมืออาชีพ

บทที่ 2 ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียและถังเก็บน้ำใต้ดิน

พี่เวฟวี่จะเเนะนําการติดตั้งเเบบละเอียดเลย ไม่ว่าเราจะใช้ระบบนํ้าเสียรวม หรือ นํ้าเสีย(เฉพาะส้วม) การติดตั้งก็ไม่ต่างกันเลยครับ

  • ขั้นตอนที่ 1 การขนย้าย : ระวังก้นกระแทก , ห้าม! ใช้มือยกหิ้วบริเวณทางน้ำเข้าและน้ำออกของถังโดยเด็ดขาด

  •   กรณีต้องการนำถังบำบัดลงจากรถ ควรมีคนประคองถัง 2 คน  หรือ กรณีคนเดียวให้ใช้วัสดุรองรับก้นถังใช้วัสดุกันกระแทก ขณะขนย้าย เพื่อป้องกันมุมถังเกิดรอยร้าวหรือได้รับความเสียหายจากการกระแทกโดยตรงกับพื้น เช่น โฟมหนา หรือ ยางรถ เเละกรณีที่ต้องการนําถังลงหลุม ควรใช้ไม้ที่เเข็งเเรง พาดเอียงเเล้วค่อยๆปล่อยถังลงไป *ควรจะมี2คนประคอง

  • การยกหิ้ว ใช้วัสดุแข็งแรงไม่มีคมมีความยาวกว่าปากถังและขัดเข้าตรงบริเวณบ่าถังแล้วยกได้เลย
  • การกลิ้ง ควรกลิ้งบนพื้นที่เรียบๆเท่านั้นนะ เเต่ไม่ค่อยเเนะนําเท่าไหร่ เพราะถังอาจเกิดเสียหายได้

 

การติดตั้งถังบำบัด
ตรวจแนวท่อจากตัวบ้าน ระยะ Slope 1 ม. : 1 ซม. ถ้า ระยะห่างจากตัวบ้าน 1 เมตร ให้ ท่อ Slope ลงมา 1 ซม. เเละปลายท่อน้ำออกควรสูงกว่า ท่อระบายน้ำทิ้งสาธารณะไม่น้อยกว่า 15 ชม. – 30 ซม. ขึ้นไป เพื่อป้องกันการไหลย้อน กลับของนํ้ากรณีฝนตกหรือนํ้าท่วมสูง

 

วิธีติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย

การขุดหลุมให้ได้ขนาด ตามแบบมาตรฐานของถังบำบัดแต่ละขนาด จะคำนวณการขุดหลุมโดยความลึกของหลุม จะเท่ากับ ความสูงของถัง เเล้ว บวกกับคอนกรีตสําเร็จรูป 10 cm บวกด้วย ทรายหยาบ 5 cm เท่านี้เราก็รู้ขนาดของหลุมที่เราจะขุดเเล้ว กรณีดินเหลวมีน้ำใต้ดินให้ทำการตอกเสาเข็มก่อนตามที่กำหนดในแบบไว้ (กรณีที่จําเป็นหรือมีความเสี่ยงที่พื้นดินอาจมีการทรุดจากสภาพดินอ่อนเหลวหรือมีระดับน้ำใต้ดินสูง)  จากนั้นทำฐานรองด้วย ทรายหยาบ 5 cm เเละ เทคอนกรีตหรือใช้คอนกรีตสําเร็จรูป 10 cm รวมกันให้มากกว่า 15 cm ก็จะได้ ฐานที่มั่นคง จะต้องผิวเรียบเเข็งเเรง ต้องได้ระดับ วัดระนาบด้วยเครื่องวัดระดับนํ้าให้ตรงเป๊ะๆด้วยนะ เเละขนาดต้องใหญ่กว่าก้นถัง เป็นอันสมบูรณ์เเบบครับ

จากนั้นต่อท่อนํ้าเข้า-นํ้าออก ด้วยข้อต่ออ่อนยางธรรมชาติ (WAVE FLEXIBLE JOINT)  พร้อมสายรัดสแตนเลสอย่างดี ไม่เป็นสนิม พี่เวฟวี่ชอบมากเลย เพราะความพิเศษอยู่ตรงที่ยืดหยุ่นได้ดีกว่าท่อPVCอ่อนทั่วไป การมีข้อต่ออ่อนยางที่ดีจะช่วยลดปัญหากรณีที่ท่อนํ้าเข้าถังหลุดออกจากท่อน้ำทิ้งที่มาจากตัวบ้านซึ่งอาจมีการทรุดตัวของพื้นที่หลังจากที่เราทำการติดตั้งไปแล้วหลายปีก็เป็นได้ ดังนั้นการพิจารณาเลือกถังบำบัดที่ดีแล้วยังต้องเลือกอุปกรณ์เสริมที่ดีด้วยเช่นกัน ถังแซทเวฟจึงเป็นที่นิยมสูงสุดและได้รับการยอมรับในกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการเลือกถังบำบัดคุณภาพดี คุ้มค่าคุ้มราคา ไว้ใช้ในบ้านครับ

 

  • ขั้นตอนที่ 3 การปรับสมดุลขณะติดตั้ง Balance pressure : หากไม่ทำตามถังอาจจะยุบตัวขณะติดตั้งได้เลยนะ!!!

สร้างความสมดุลด้วยการเติมน้ำสลับกับ การกลบทรายหยาบด้านนอกถัง และระมัดระวังเลือกทรายหยาบที่ฝังกลบถังที่ไม่มีเศษวัสดุ,หิน,หรือของมีคมปะปนนะ

เริ่มที่การให้เติมน้ำในถังให้สัมพันธ์กับระดับทรายรอบๆจากนั้นรดน้ำให้ชุ่มภายนอกถัง ทําเเบบนี้ทุกๆ ระดับ 50 เซนติเมตร จนเต็มถัง

กรณีถังเก็บน้ำใต้ดิน ให้เทคอนกรีตโดยรอบจากก้นถังสูงประมาณครึ่งถัง อัดทรายหยาบ พร้อมปรับสมดุลเช่นเดียวกันครับ

*ข้อควรระวัง *ถังบำบัดทุกชนิดที่ฝังใต้ดิน ถูกออกแบบใช้งานในระบบน้ำลัน (ต้องมีน้ำอยู่ในถังขณะใช้งานตลอดเวลา) จึงไม่แนะนำให้บรรจุน้ำแล้ววางบนดินหรือฝังกลบกรณีไม่มีน้ำอยู่ในถัง

*เวฟวี่ขอเสริมอีกวิธีนะ ที่จะป้องกันถังยุบตัว ควรรักษาระดับน้ำให้ได้ 2/3 ส่วน เพื่อรักษาสมดุลแรงดันภายในถังเสมอ กรณีที่เราดูดกากตะกอน หรือกรณีที่ติดตั้งแล้วไม่ใช้งานทันที หรือเว้นระยะไม่ใช้งานมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ควรเติมน้ำทันทีอย่างน้อย 2/3 ส่วน เพื่อรักษาสมดุลไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าฝน ซึ่งมีระดับน้ำในดินสูงกว่าปกติ หากภายในถังไม่มีน้ำ แรงกดดันมหาศาลจากดินที่อมนํ้าไว้ภายนอกถัง อาจทำให้ถังเกิดความเสียหายได้แม้จะไม่ใช้งาน

  • ขั้นตอนที่ 4 การเทคอนกรีตรัดฝาถัง

  • กรณีติดตั้งปากระดับดิน

ก่อนอื่นเราควรต่ออากาศจากตัวถังขึ้นมาเหนือพื้น รูปเเบบตัว ( T )  หรือ ต่อหลบไม่ให้นํ้าเข้าเวลาฝนตก เทคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อเป็นการรัดปากถัง โดยฝังวงแหวนรองรับปากถังไว้กับพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก

  • กรณีติดตั้งต่ำกว่าระดับดิน

เราควรก่ออิฐมอญไม่เกิน 50 เซนติเมตร ขึ้นมาต่อจากปากถัง เเล้วต่อท่ออากาศ ซึ่งควรต่อในระดับที่ไม่มีผลต่อการรับกลิ่นภายในบ้าน (ท่อสูงเท่าไหร่ก็ได้โดยที่ไม่ให้มีกลิ่นรบกวนและน้ำฝนไหลย้อนลงไป) จากนั้นเทคอนกรีตเสริมเหล็กได้เลยครับ

 

เเอ๊ะๆ ที่สําคัญถังบําบัดZAD มีลิ้นล็อคพร้อมแผ่นกั้นกากเต็มใบ ป้องกันกากข้ามลอยโดยไม่ผ่านการบำบัด เเละกรณีติดตั้งต่ำ หรือ น้ำท่วม ระบบลิ้นล็อคลิขสิทธิ์เฉพาะถังเวฟ เท่านั้น มั้นใจได้ 100%

  ขอเสริมอีกนิดนะครับ… ถังบำบัด Wave (ZAD) ใช้หลักจุลินทรีย์บำบัด มีส่วนเกรอะสำหรับเก็บกากตะกอน และอีกฝั่งที่มีตัวกรองชีวภาพได้รับการออกแบบที่เป็นมาตรฐาน เพราะฉะนั้น เพื่อประสิทธิภาพการบําบัดที่ดีกว่า ควรเติม SEED ให้ใส่ขณะเริ่มติดตั้งในฝั่งที่มีตัวกรองชีวภาพ(ฝั่งกรอง) หรือเทลงชักโครกเพื่อกระตุ้นการใช้งานหลังจากที่มีการใช้งานไปแล้วซักระยะ (แนะนำเติมทุกๆ6เดือนหรือเติมหลังจากการดูดกากตะกอนทันที) หัวเชื้อจุลินทรีย์จะช่วยย่อยสลายกากตะกอน ลดกลิ่น ลดการอุดตัน และช่วยเปลี่ยนนํ้าเสียให้กลายเป็นนํ้าใสก่อนปล่อยลงสู่ท่อสาธารณะได้ดียิ่งขึ้น

*ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีกรด ด่าง กัดรุนแรงในทันที หลังจากที่มีการเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์

เย้ๆ เวฟวี่มั่นใจได้เลยว่า ถ้าเราให้ความสําคัญกับทุกๆขั้นตอนทั้งการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดี พร้อมการติดตั้งและการดูแลรักษาที่ถูกต้อง ถังบำบัดที่ใช้ในบ้านเราก็จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และไม่สร้างปัญหาการใช้งานตามมาอย่างแน่นอน หากคุณกำลังมองหาและต้องการเลือกถังบำบัดน้ำเสียที่มีคุณภาพสูงไว้ใช้งาน ถังบำบัดน้ำเสียเวฟพร้อมตอบโจทย์การใช้งานทุกรูปแบบ ทั้งในบ้าน โรงงาน สำนักงาน  เรามีถังบำบัดน้ำเสีย 1000 ลิตร ราคาเริ่มต้นเพียง 4,XXX.-  และถังบำบัดน้ำเสีย 2000 ลิตร ราคาเริ่มต้น 8,xxx-9,000.- ไปจนถึงถังบำบัดไฟเบอร์กลาสขนาดใหญ่ ผลิตตามต้องการและให้คำแนะนำโดยทีมผู้เชี่ยวชาญประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี

สุดท้ายนี้พี่เวฟวี่อยากฝาก คำแนะนำการใช้และการบำรุงรักษา ถังบำบัดน้ำเสีย ให้ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนใหม่ มั่นใจทุกครั้งที่ใช้ถังบำบัดน้ำเสีย Wave (ZAD)

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ดีในการใช้งานเว็บไซต์ อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และ นโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)